
นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิวเอนเนอร์ยี ได้ทวิตข้อความถึงกรณีการรับซื้อไฟฟ้า ที่นายศุภโชติ ไชยสัจ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ระบุว่า เป็นการสานต่อค่าไฟแพง จะทำให้คนไทยจ่ายค่าไฟแพงไปถึง 25 ปี
โดยระบุว่า ในฐานะผมที่อยู่ในแวดวงพลังงานสะอาดในฐานะผู้ประกอบการทั้งโซลาร์รูฟ โซลาร์ฟาร์ม โซลาร์ Float อยากให้ข้อมูลความจริงในอีกมุม ดังนี้
1.) เรื่องค่า LCOE ที่คุณศุภโชติเอามาใช้เป็นต้นทุนโรงไฟฟ้าจาก Woodmac อาจมีความคลาดเคลื่อน เพราะเราไม่สามารถเอาค่าเฉลี่ย LCOE ของ APAC มาเหมารวมกับประเทศไทยได้ เพราะมีตั้งแต่ประเทศพัฒนาแล้ว ไปจนถึงประเทศก่อนพัฒนา ทำให้ต้นทุนบาท/วัตต์มีการต่างกัน และในฐานะผู้ประกอบการ ก็ทราบดีว่าการคิดค่าไฟนั้น มีสมมติฐานหลายอย่างที่ต้องนำมาใช้คำนวน หากไม่ครบ หรือเพียงบางส่วนก็อาจทำให้เข้าใจผิดได้ เช่น
1. ราคาเช่าที่ดิน หรือราคาซื้อที่ดินของแต่ละที่ต่างกัน ซึ่งโซลาร์ฟาร์มต้องใช้พื้นที่มากถึง 7 ไร่ต่อ 1 เมกะวัตต์ (บางพื้นที่ราคาที่ดินถูก บางที่ราคาแพง) และยังมีเรื่อง Capacity Factor ว่าเอาสูตรไหนตัวไหนมาใช้คำนวนด้วย ถ้า CF สูง ก็อาจทำให้ LCOE ต่ำเกินจริง
2. ระยะทางการสายส่งจากสถานีโรงไฟฟ้า ไปยังจุดเชื่อมต่อของการไฟฟ้า นั้นต่างกัน และเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าต้องจ่ายเอง ซึ่งแต่ละโรงไฟฟ้าต้องเดินสายไฟ พร้อมปักเสาไฟฟ้าระยะทางไม่ต่ำกว่า 20 กม. (บางที่เกิน 30กม.) และหากต้องเดินสายไฟ 115 KVA แรงสูง ก็มีต้นทุนที่สูงครับ
3. ราคาแผงโซลาร์แต่ละประเภท แต่ละยี่ห้อ ราคาไม่เท่ากันครับ และราคาต่างกันได้ถึง 10% แล้วแต่ชนิดครับ เช่น แผงโซลาร์ประเภท P Type, N-Type, TopCon ซึ่งราคาบาท/วัตต์ ไม่เท่ากันครับ
4. ค่า LCOE ที่คุณศุภโชติอ้างมานั้น รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ และ ต้นทุนทางธุรกรรมธนาคารหรือยังครับ? เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งต้นทุนหลักในการทำธุรกิจโรงไฟฟ้าครับ
5. Economy of Scale – โรงไฟฟ้าโซลาร์ ที่จะขายไฟในสัญญารับซื้อไฟล๊อตนี้ มี maximum capacity ห้ามเกิน 90 เมกะวัตต์ต่อสัญญา ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค หรือ อินเดีย ขนาดโรงไฟฟ้าโซลาร์ต่อสัญญานั้น ขนาดใหญ่ถึงหลายร้อย ถึงพันเมกะวัตต์ต่อโรงไฟฟ้า / เพราะฉะนั้นหากขนาดใหญ่ ต้นทุนก็ถูกลง หากโรงไฟฟ้ามีขนาดเล็ก ต้นทุนก็แพงครับ
ประเด็นที่ 2.) เอกสารอ้างอิงที่คุณศุภโชตินำมาใช้ (https://climatefinancethai.com/th/solar-lcoe/) ได้มีการระบุถึงค่า LCOE 1.83 บาท/หน่วย ตลอด 25 ปี มันเป็นการนำค่า LCOE ของโซลาร์รูฟในการติดตั้งงานบ้านมาใช้ครับ และไม่ใช้ต้นทุนของโซลาร์ฟาร์มครับ




ซึ่งผมต้องนำเรียนว่า โครงสร้างต้นทุนระหว่างโซลาร์รูฟ โซลาร์ฟาร์ม หรือโซลาร์ทุ่นลอยน้ำ มีความแตกต่างด้านราคาต้นทุนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน และค่าเตรียมสาธารณูปโภคในที่ดินของคุณ อาทิเช่น internal road / ระบบจัดการ flooding ป้องกันน้ำท่วม / ระบบ pest control / ระบบ O&M ที่ต้องทำทุกวัน ซึ่งผมพยายามเข้าไปดูเอกสารแนบอื่นๆ ของคุณศุภโชติจาก Mackenzie แต่ไม่สามารถเข้าไปดูได้ทั้งหมด เนื่องจากต้องซื้อรายงานจำนวน $5900 เลย หากคุณศุภโชติช่วยส่งรายงานฉบับเต็มมาให้ผมจะขอบคุณมากครับ
สุดท้ายนี้ ผมต้องนำเรียนว่าประเทศไทยใช้ระบบ PPP ให้เอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สร้างโรงไฟฟ้าแทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หากต้นทุนเขาอยู่ที่ 2 บาท เขาคงไม่สามารถขายไฟฟ้าให้เราได้ 2 บาทครับ มันก็ต้องมีการบวกค่าดำเนินการของเขาลงไปในนี้ด้วย หรือแม้แต่โรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเอง ก็ยังใช้สูตร Cost Plus บวกกำไร > จนการไฟฟ้ากำไรเป็นหมื่นล้าน ซึ่งประเด็นนี้ก็น่าเข้าไปดูนะครับว่าเราจะสามารถลดกำไร-รีดไขมันของการไฟฟ้าส่วนจำหน่ายได้หรือไม่ เพื่อมาลดค่าไฟให้ปชช.
ผมจึงคิดว่าเหตุผลที่ผมอ้างมาคงจะเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นภาพว่า 2.16 บาท มันไม่แพงเลยครับ และคงไม่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพง โดยผมขอเน้นย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรากำลังมีโรงไฟฟ้า Gas ที่ราคาขายแพง และกำลังหมดอายุกว่า 14,000MW > เพราะฉะนั้นการรับซื้อไฟฟ้าสะอาดที่ราคาถูกกว่าโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิมมาทดแทน เพื่อเฉลี่ยต้นทุนลง คงไม่ใช่สาเหตุที่ประเทศไทยจะมีค่าไฟแพงไปอีก 25 ปี อีกแน่นอนครับ